วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ห้องเทพธานี โรงแรมสยามธานี จ.สุราษฎร์ธานี จัดประชุมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเครือข่ายแกนำ 5 จังหวัดภาคใต้ (กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง) เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไข และเรียกร้องให้รัฐฯช่วยแก้ไขราคาปาล์มที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และสร้างเสถียรภาพกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบอย่างเร่งด่วน
นายชัยวุฒิ จิตต์นุพงศ์ นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้ร่วมประชุม กล่าวว่าตามที่ปรากฏว่าในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจำนวนหนึ่งสร้างสถานการณ์ปั่นป่วนราคา จนชาวสวนปาล์มน้ำมันได้รับราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แม้ว่าจะมีการประชุมระหว่างอธิบดีกรมการค้าภายในกับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและได้กำหนดข้อตกลงการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ทุเลาเบาบางแล้ว อย่างไรก็ตามเห็นว่าเป็นการหยุดปัญหาไว้เพียงชั่วคราว และเหตุการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้อีกในช่วงผลผลิตปาล์มออกมาจำนวนมาก
ทางสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ และพังงา จึงได้ประชุมร่วมกัน และได้มีความเห็นพ้องต้องกันเรียกร้องและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐบาล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันให้มีความเป็นธรรม และสร้างเสถียรภาพกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ดังนี้
- ตรวจสอบกำลังผลิตของโรงงานสกัด ที่แจ้งขอทุน (BOI) และความสามารถใน การผลิตจริง ว่าสอดคล้องกับที่ขอส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ไว้หรือไม่
- ขอให้กระทรวงพาณิชย์ประกาศหลักเกณฑ์ การกำหนดราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) และน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มดิบ (cpko) และ Stock ที่แท้จริง ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบโดยเปิดเผย
- ขอทราบผลการจับกุมรถบรรทุกน้ำมันปาล์มที่ จังหวัดชุมพร เมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ.2566
- ขอทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการปั่นป่วนราคาปาล์มน้ำมัน เมื่อช่วงต้นเดือน มกราคม พ.ศ. 2566 ตามคำสั่งประธาน กนป. (รองนายกประวิตรฯ)
- ให้นำแผนการสกัดน้ำมันปาล์มประจำปี และแผนปิดซ่อมของโรงงานสกัดเปิดเผยโดยผ่านสื่อ สาธารณะเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน
- ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ทบทวนและปรับการพยากรณ์ ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ทุกสามเดือน(สามเดือน/ครั้ง และเผยแพร่สู่สาธารณะให้ผู้เกี่ยวข้อง
- ให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงให้โรงงานสกัดที่มีถังเก็บไม่เกิน 1,000 ตัน ติดตั้งระบบมิเตอร์เรียลไทม์ด้วย
- ให้อุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงเพิ่มเติม มาตรการบังคับควบคุมคุณภาพ วัตถุดิบ (ผลทะลายปาล์ม) เข้าโรงงานไม่น้อยกว่า 18%
- ให้กระทรวงพลังงาน พิจารณาปรับเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล เป็น บี 10/บี 20
- ให้นำมาตรฐานทะลายปาล์ม และมาตรฐานลานเท ที่ สำนักงานมาตรฐาน สินค้าเกษตรได้จัดทำมาประกาศกำหนดเป็นมาตรการบังคับใช้
- ให้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) กำกับ ควบคุม ดูแลกลไกตลาดโดยให้ราคารับซื้อทะลายปาล์มต้องมีคุณภาพไม่ต่ำ กว่า 18% และสอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบ (CPO) ด้วย
- ให้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ประกาศใช้โครงสร้าง ราคาทะลายปาล์มใหม่ตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเป็นธรรมและเสถียรภาพต่อ อุตสาหกรรมปาล์มทั้งระบบ
จากปัญหาราคมปาล์มน้ำมันตกต่ำดังกล่าว เกษตรก่อนที่ได้รับความเดือดร้อน อยากได้หน่วยงานที่มีกลไกควบคุมราคมน้ำมันอย่างเป็นระบบ และเป็นธรรมกับสภาวะปัจจุบัน ในขณะที่ช่วงราคมน้ำปาล์มขึ้น ราคาปุ๋ยก็ขึ้นตาม แต่พอราคาปาล์มตกต่ำราคาปุ๋ยที่สูงขึ้นก็ยังแพงเหมือนเดิม ทั้งนี้ถ้าเป็นไปได้อยากให้รัฐช่วยพยุงราคาปาล์มอยู่ที่ขั้นต่ำโลละ 6 บาทขึ้นไป เกษตรชาวสวนปาล์มก็อยู่ได้อย่างไม่ขาดทุนในช่วงนี้
………………………………………………………………………………………………
ทีมข่าวพลังราษฎร์